วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สมาชิกกลุ่ม : มลพิษทางอากาศ

รายชื่อ สมาชิกกลุ่ม

นาย ธนพัฒน์ ถนอมศักดิ์  Cpr.E  5401012630126

นายชัยดิษฐ์ แช่มคำ Cpr.E 5401012620091

นางสาวสิริวิมล สุทร Cpr.E 5401012630240

วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

Assignment 2 : มลพิษทางอากาศ

 ทำไมจึงสนใจปัญหามลพิษทางอากาศ

    ปัญหามลพิษก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ซึ่งมลพิษที่เกิดขึ้นมีหลายด้าน เช่น น้ำเสีย ,ขยะ ,เสียง รวมไปถึงอากาศที่เราใช้หายใจ จากการรวบรวมข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษพบว่าในปี 2557 ที่ผ่านมา ประชาชนร้องเรียนเรื่องมลพิษ เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ดังข้อมูลที่แสดงจำนวนเรื่องที่ร้องเรียน จำแนกตามประเภทของมลพิษ

 จำนวนเรื่องที่ร้องเรียน จำแนกตามประเภทของมลพิษ

เปรียบเทียบระหว่างปี 2013 - 2014 

 


  หมายเหตุ : สีแดง = ปี 2013 , สีเหลือง = ปี 2014

CSV Flies.
 
    จากการเปรียบเทียบข้อมูลข้างต้นพบว่า มีการร้องเรียนเข้ามาเพิ่มมากขึ้น และเรื่องที่ร้องเรียนเข้ามากที่สุดคือเรื่องที่เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ  ประเภทกลิ่น และฝุ่น,ควัน ซึ่งมีเข้ามามากที่สุดจากเรื่องที่มีการร้องเรียนทั้งหมด
   เมื่อจำแนกเรื่องการร้องเรียนออกเป็นจังหวัด และนำมาแสดงผลโดยการจัดลำดับ 9 จังหวัดที่มีเรื่องร้องเรียนมากที่สุด

จำนวนเรื่องที่ร้องเรียน จำแนกตามจำงหวัด

เปรียบเทียบระหว่างปี 2013 - 2014 

(9 จังหวัด สูงสุด)


 

CSV File

      พบว่าจังหวัดที่ติดอันดับนี้เป็นจังหวัดที่มีความเจริญในด้านอุตสาหกรรม และมีประชากรค่อนข้างมาก ทำให้อาจจะส่งผลที่ตามมาในอีกหลายๆด้าน เช่น สุขภาพของประชาชน ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั่งสิ่งปลูกสร้างและสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ ซึ่งถ้าหากปล่อยให้ปัญหานี้เกิดขึ้นต่อไป อาจจะยิ่งส่งผลกระทบที่รุนแรงขึ้น
      ดังนั้นผู้จัดทำข้อมูลจึงเล็งเห็นความสำคัญ และต้องการจัดทำข้อมูลของสถานการณ์มลพิษทางอากาศโดยการแสดงให้เห็นถึงสารมลพิษที่เกิดขึ้นว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร และจังหวัดใดที่อยู่ในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบของมลพิษนี้ เพื่อให้เห็นความสำคัญที่ต้องมีการจัดการ เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ
     

สถานการณ์โดยรวม ปี 2557

     ข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษที่ได้จากสถานี้ตรวจวัดอัตโนมัติทั้ง 29 สถานี้ ซึ่งนำมาแสดงจำนวนวัน ที่ค่าต่างๆ ของมลพิษในอากาศเกินมาตรฐาน โดยข้อมูลที่นำมาแสดงชุดแรก เป็นการตรวจวัดคุณภาพอากาศ(AQI)

จำนวนวันที่มลพิษทางอากาศเกินค่ามาตรฐาน






 

 

     การแสดงผลข้อมูลต่อมา จะพิจารณาจากค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน และนำมาจัดอันดับจังหวัดที่มีปัญหาด้านฝุ่นละอองมากที่สุด 15 อันดับแรก ซึ่งจะได้ข้อมูลดังนี้

จำนวนวันที่ฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน






 

 

    ต่อมาเป็นการพิจารณาจากโอโซนที่เกินค่ามาตรฐานปัญหาด้านก๊าซโอโซน 15 อันดับแรกซึ่งจะได้ข้อมูลดังนี้

จำนวนวันที่ก๊าซโอโซนเกินค่ามาตรฐาน






 

ปริมาณสารพิษทางอากาศเฉลี่ยทั้งประเทศ

แสดงเป็นร้อยละเทียบกับค่ามาตรฐาน (o% = ค่ามาตรฐาน) ปี 2541 - 2557




 



แหล่งกำเนิดมลพิษ

    แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ ในที่นี้จะแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่  1. โรงงานอุตสาหกรรม 2.การขนส่ง 3.ด้านการผลิตพลังงาน 4. ด้านที่อยู่อาศัย 5. ด้านอื่นๆ ซึ่งนำข้อมูลมาแสดงได้ดังนี้

แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ  

 
    จากการแสดงข้อมูลข้างต้น พบว่ามลพิษถูกปล่อยออกมามากที่สุดสองอันดับแรกคือ ด้านการผลิตพลังงานและการคมนาคมขนส่ง

ผลกระทบต่อสุขภาพ

อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับมลพิษทางอากาศ

(รายต่อแสนประชากร ปี 2000 - 2013)



หมายเหตุ : สีน้ำเงิน = อัตราตาย (โรคมะเร็ง)
                   สีส้ม = ผู้ป่ายโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด+ความดันโลหิตสูง
                   สีเขียว = ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ
 
TSV File



    จากข้อมูลที่ได้รวบรวมมาเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ ทั้งสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แหล่งกำเนิด และผลกระทบเกี่ยวกับสุขภาพ อาจนำไปเป็นส่วนหนึ่ง ในการพัฒนาและแก้ปัญหาในมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นได้อย่างเช่น
  • เมื่อทราบข้อมูลว่าจังหวัดใด ได้รับผลกระทบหรือประสบกับปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ ติดอันดับสูงสุด ให้มีการตรวจสอบและเฝ้าระวังไม่ให้เกิดปัญหามลพิษขึ้นอีก
  • เมื่อเมื่อทราบข้อมูลว่าจังหวัดใด ได้รับผลกระทบหรือประสบกับปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ ติดอันดับสูงสุด ให้มีการแนะนำประชาชน ว่าควรปฏิบัติตนอย่างไร เพื่อป้องกันและลดปัญหาด้านสุขภาพที่ตามมา
  • เมื่อเมื่อทราบข้อมูลว่าจังหวัดใด ได้รับผลกระทบหรือประสบกับปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ ติดอันดับสูงสุด อาจจะจัดสรรสถานที่ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ ให้เหมาะสม
  • เมื่อเมื่อทราบข้อมูลว่าจังหวัดใด ได้รับผลกระทบหรือประสบกับปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ ติดอันดับสูงสุด อาจจะกำหนดนโยบายในการลดค่าของสารก่อมลพิษหรือคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ
  • เมื่อทราบว่าแหล่งกำเนิดหลักของมลพิษคือ โรงผลิตพลังงาน และการคมนาคมขนส่ง ควรรณรงค์ให้มีการลดใช้พลังงาน และหาผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรมมาช่วยแก้ปัญหา
  • เมื่อทราบถึงแนวโน้มที่สูงขึ้นของผู้ป่วยและผู้เสียชีวิต ควรเร่งแก้ปัญหามลพิษนี้ เพื่อให้ประชาชนหัันมาใส่ใจที่จะช่วยกันดูแล และลดปัญหานี้โดยเริ่มจากตัวเอง เช่นการหลีกเลี่ยงมลภาวะ หรือเป็นส่วนหนึ่งในการไม่ก่อมลพิษเสียเอง โดยการลดใช้พลังงาน

วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

Assignment2 - ข้อมูลเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ

ที่มา : onionku.exteen.com

ทำไมถึงสนใจ เรื่องมลพิษทางอากาศ

  • เพื่อศึกษาแนวโน้มคุณภาพของบรรยากาศ ว่ามีแนวโน้มไปในทิศทางใด 
  • เพื่อนำข้อมูลที่ได้ มาจัดทำเป็น สื่อในการนำเสนอข้อมูล (data visualization)
  • เพื่อศึกษาระดับความเข้มข้นของสารมลพิศแต่ละชนิดในอากาศ
  • สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น วิเคราะห์แนวโน้มของมลภาวะที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปกำหนดนโยบายต่างๆ หรือทำเป็นสื่อสำหรับรณรงค์ให้ช่วยกันลดสาเหตุของการเกิดมลพิษ

มลพิษทางอากาศ


    มลพิษทางอากาศ หมายถึง การที่ฝุ่นละออง โมเลกุลชีวภาพ หรือวัตถุอันตรายต่างๆ เกิดขึ้นอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก ที่มีความเข้มข้นสูงเกินกว่าปกติ ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุของโรค การเสียชีวิตของมนุษย์ และทำลายสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ั้งพืชและสัตว์ และอาจรวมไปถึง การทำลายในสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมต่างๆ


ผลกระทบที่เกิดขึ้น


   ผลเสียของมลพิษทางอากาศเกิดขึ้นได้หลายอย่าง ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผลกระทบในทางตรงเช่น ผลกระทบต่อทางเดินหายใจหรือร่างกายของมนุษย์ ส่วนผลกระทบในทางอ้อม เช่น การทำลายสิ่งก่อสร้างจากฝนกรด


แหล่งกำเนิด

   แหล่งกำเนิดของมลพิษในอากาศ แบ่งได้เป็นสองแหล่งใหญ่ๆคือได้แก่

  1. แหล่งกำเนิดที่เกิดจากการกระทำของธรรมชาติ(Natural Sources) ได้แก่
    1.1  ภูเขาไฟ
    1,2  ไฟไหม้ป่า
    1.3  การเน่าเปื่อยและการหมัก
    1.4  การฟุ้งกระจาย
  2. แหล่งกำเนิดที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์(Man-Made Source) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
    2.1 แหล่งกำเนิดที่เคลื่อนที่ได้ (Mobile Source) ได้แก่ รถยนต์ เรือยนต์ เครื่องบิน
    2.2  แหล่งกำเนิดอยู่กับที่ (Stationary Source) หมายถึง แหล่งกำเนิดที่ไม่สามารถเคลื่อที่ได้ เช่นโรงงานอุตสาหกรรม 

สารมลพิษทางอากาศ

    
     สารมลพิษทางอากาศ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
  1. สารมลพิษทางอากาศปฐมภูมิ เป็นสารมลพิษทางอากาศที่ปล่อยจากแหล่งกำเนิดโดยตรง
  2. สารมลพิษทางอากาศทุติยภูมิ เป็นสารมลพิษทางอากาศที่เกิดขี้นโดยอ้อม หรือสารที่กระบวนการสังเคราะห์ในสิ่งแวดล้อม โดยปฏิกริยาเคมี

ข้อมูลที่นำมาใช้


    ข้อมูลที่นำมาจัดทำเป็น data visualization นี้เป็นข้อมูลจากสำนักงานคุณภาพอากาศและเสียง ของกรมควบคุมมลพิษ จากสถานีตรวจวัด คุณภาพอากาศถาวรอัตโนมัติ ของกรมควบคุมมลพิษ รวม 65 สถานี ใน 29 จังหวัดทั่วประเทศ สารมลพิษทางอากาศเหล่านี้ เป็นสารมลพิษทางอากาศปฐมภูมิได้แก่ 
  • ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
  • ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (์NO2)
  • ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO)
  • ก๊าซโอโซน (O3)
  • ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10)
  • ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)
  • คุณภาพของอากาศโดยรวม

ที่มา :