![]() |
ที่มา : onionku.exteen.com |
ทำไมถึงสนใจ เรื่องมลพิษทางอากาศ
- เพื่อศึกษาแนวโน้มคุณภาพของบรรยากาศ ว่ามีแนวโน้มไปในทิศทางใด
- เพื่อนำข้อมูลที่ได้ มาจัดทำเป็น สื่อในการนำเสนอข้อมูล (data visualization)
- เพื่อศึกษาระดับความเข้มข้นของสารมลพิศแต่ละชนิดในอากาศ
- สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น วิเคราะห์แนวโน้มของมลภาวะที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปกำหนดนโยบายต่างๆ หรือทำเป็นสื่อสำหรับรณรงค์ให้ช่วยกันลดสาเหตุของการเกิดมลพิษ
มลพิษทางอากาศ
มลพิษทางอากาศ หมายถึง การที่ฝุ่นละออง โมเลกุลชีวภาพ หรือวัตถุอันตรายต่างๆ เกิดขึ้นอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก ที่มีความเข้มข้นสูงเกินกว่าปกติ ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุของโรค การเสียชีวิตของมนุษย์ และทำลายสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ั้งพืชและสัตว์ และอาจรวมไปถึง การทำลายในสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมต่างๆ
ผลกระทบที่เกิดขึ้น
ผลเสียของมลพิษทางอากาศเกิดขึ้นได้หลายอย่าง ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผลกระทบในทางตรงเช่น ผลกระทบต่อทางเดินหายใจหรือร่างกายของมนุษย์ ส่วนผลกระทบในทางอ้อม เช่น การทำลายสิ่งก่อสร้างจากฝนกรด
แหล่งกำเนิด
แหล่งกำเนิดของมลพิษในอากาศ แบ่งได้เป็นสองแหล่งใหญ่ๆคือได้แก่
- แหล่งกำเนิดที่เกิดจากการกระทำของธรรมชาติ(Natural Sources) ได้แก่
1.1 ภูเขาไฟ
1,2 ไฟไหม้ป่า
1.3 การเน่าเปื่อยและการหมัก
1.4 การฟุ้งกระจาย
- แหล่งกำเนิดที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์(Man-Made Source) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 แหล่งกำเนิดที่เคลื่อนที่ได้ (Mobile Source) ได้แก่ รถยนต์ เรือยนต์ เครื่องบิน
2.2 แหล่งกำเนิดอยู่กับที่ (Stationary Source) หมายถึง แหล่งกำเนิดที่ไม่สามารถเคลื่อที่ได้ เช่นโรงงานอุตสาหกรรม
1.1 ภูเขาไฟ
1,2 ไฟไหม้ป่า
1.3 การเน่าเปื่อยและการหมัก
1.4 การฟุ้งกระจาย
2.1 แหล่งกำเนิดที่เคลื่อนที่ได้ (Mobile Source) ได้แก่ รถยนต์ เรือยนต์ เครื่องบิน
2.2 แหล่งกำเนิดอยู่กับที่ (Stationary Source) หมายถึง แหล่งกำเนิดที่ไม่สามารถเคลื่อที่ได้ เช่นโรงงานอุตสาหกรรม
สารมลพิษทางอากาศ
สารมลพิษทางอากาศ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
- สารมลพิษทางอากาศปฐมภูมิ เป็นสารมลพิษทางอากาศที่ปล่อยจากแหล่งกำเนิดโดยตรง
- สารมลพิษทางอากาศทุติยภูมิ เป็นสารมลพิษทางอากาศที่เกิดขี้นโดยอ้อม หรือสารที่กระบวนการสังเคราะห์ในสิ่งแวดล้อม โดยปฏิกริยาเคมี
ข้อมูลที่นำมาใช้
ข้อมูลที่นำมาจัดทำเป็น data visualization นี้เป็นข้อมูลจากสำนักงานคุณภาพอากาศและเสียง ของกรมควบคุมมลพิษ จากสถานีตรวจวัด คุณภาพอากาศถาวรอัตโนมัติ ของกรมควบคุมมลพิษ รวม 65 สถานี ใน 29 จังหวัดทั่วประเทศ สารมลพิษทางอากาศเหล่านี้ เป็นสารมลพิษทางอากาศปฐมภูมิได้แก่
- ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
- ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (์NO2)
- ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO)
- ก๊าซโอโซน (O3)
- ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10)
- ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)
- คุณภาพของอากาศโดยรวม