วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สมาชิกกลุ่ม : มลพิษทางอากาศ

รายชื่อ สมาชิกกลุ่ม

นาย ธนพัฒน์ ถนอมศักดิ์  Cpr.E  5401012630126

นายชัยดิษฐ์ แช่มคำ Cpr.E 5401012620091

นางสาวสิริวิมล สุทร Cpr.E 5401012630240

วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

Assignment 2 : มลพิษทางอากาศ

 ทำไมจึงสนใจปัญหามลพิษทางอากาศ

    ปัญหามลพิษก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ซึ่งมลพิษที่เกิดขึ้นมีหลายด้าน เช่น น้ำเสีย ,ขยะ ,เสียง รวมไปถึงอากาศที่เราใช้หายใจ จากการรวบรวมข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษพบว่าในปี 2557 ที่ผ่านมา ประชาชนร้องเรียนเรื่องมลพิษ เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ดังข้อมูลที่แสดงจำนวนเรื่องที่ร้องเรียน จำแนกตามประเภทของมลพิษ

 จำนวนเรื่องที่ร้องเรียน จำแนกตามประเภทของมลพิษ

เปรียบเทียบระหว่างปี 2013 - 2014 

 


  หมายเหตุ : สีแดง = ปี 2013 , สีเหลือง = ปี 2014

CSV Flies.
 
    จากการเปรียบเทียบข้อมูลข้างต้นพบว่า มีการร้องเรียนเข้ามาเพิ่มมากขึ้น และเรื่องที่ร้องเรียนเข้ามากที่สุดคือเรื่องที่เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ  ประเภทกลิ่น และฝุ่น,ควัน ซึ่งมีเข้ามามากที่สุดจากเรื่องที่มีการร้องเรียนทั้งหมด
   เมื่อจำแนกเรื่องการร้องเรียนออกเป็นจังหวัด และนำมาแสดงผลโดยการจัดลำดับ 9 จังหวัดที่มีเรื่องร้องเรียนมากที่สุด

จำนวนเรื่องที่ร้องเรียน จำแนกตามจำงหวัด

เปรียบเทียบระหว่างปี 2013 - 2014 

(9 จังหวัด สูงสุด)


 

CSV File

      พบว่าจังหวัดที่ติดอันดับนี้เป็นจังหวัดที่มีความเจริญในด้านอุตสาหกรรม และมีประชากรค่อนข้างมาก ทำให้อาจจะส่งผลที่ตามมาในอีกหลายๆด้าน เช่น สุขภาพของประชาชน ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั่งสิ่งปลูกสร้างและสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ ซึ่งถ้าหากปล่อยให้ปัญหานี้เกิดขึ้นต่อไป อาจจะยิ่งส่งผลกระทบที่รุนแรงขึ้น
      ดังนั้นผู้จัดทำข้อมูลจึงเล็งเห็นความสำคัญ และต้องการจัดทำข้อมูลของสถานการณ์มลพิษทางอากาศโดยการแสดงให้เห็นถึงสารมลพิษที่เกิดขึ้นว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร และจังหวัดใดที่อยู่ในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบของมลพิษนี้ เพื่อให้เห็นความสำคัญที่ต้องมีการจัดการ เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ
     

สถานการณ์โดยรวม ปี 2557

     ข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษที่ได้จากสถานี้ตรวจวัดอัตโนมัติทั้ง 29 สถานี้ ซึ่งนำมาแสดงจำนวนวัน ที่ค่าต่างๆ ของมลพิษในอากาศเกินมาตรฐาน โดยข้อมูลที่นำมาแสดงชุดแรก เป็นการตรวจวัดคุณภาพอากาศ(AQI)

จำนวนวันที่มลพิษทางอากาศเกินค่ามาตรฐาน






 

 

     การแสดงผลข้อมูลต่อมา จะพิจารณาจากค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน และนำมาจัดอันดับจังหวัดที่มีปัญหาด้านฝุ่นละอองมากที่สุด 15 อันดับแรก ซึ่งจะได้ข้อมูลดังนี้

จำนวนวันที่ฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน






 

 

    ต่อมาเป็นการพิจารณาจากโอโซนที่เกินค่ามาตรฐานปัญหาด้านก๊าซโอโซน 15 อันดับแรกซึ่งจะได้ข้อมูลดังนี้

จำนวนวันที่ก๊าซโอโซนเกินค่ามาตรฐาน






 

ปริมาณสารพิษทางอากาศเฉลี่ยทั้งประเทศ

แสดงเป็นร้อยละเทียบกับค่ามาตรฐาน (o% = ค่ามาตรฐาน) ปี 2541 - 2557




 



แหล่งกำเนิดมลพิษ

    แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ ในที่นี้จะแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่  1. โรงงานอุตสาหกรรม 2.การขนส่ง 3.ด้านการผลิตพลังงาน 4. ด้านที่อยู่อาศัย 5. ด้านอื่นๆ ซึ่งนำข้อมูลมาแสดงได้ดังนี้

แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ  

 
    จากการแสดงข้อมูลข้างต้น พบว่ามลพิษถูกปล่อยออกมามากที่สุดสองอันดับแรกคือ ด้านการผลิตพลังงานและการคมนาคมขนส่ง

ผลกระทบต่อสุขภาพ

อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับมลพิษทางอากาศ

(รายต่อแสนประชากร ปี 2000 - 2013)



หมายเหตุ : สีน้ำเงิน = อัตราตาย (โรคมะเร็ง)
                   สีส้ม = ผู้ป่ายโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด+ความดันโลหิตสูง
                   สีเขียว = ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ
 
TSV File



    จากข้อมูลที่ได้รวบรวมมาเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ ทั้งสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แหล่งกำเนิด และผลกระทบเกี่ยวกับสุขภาพ อาจนำไปเป็นส่วนหนึ่ง ในการพัฒนาและแก้ปัญหาในมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นได้อย่างเช่น
  • เมื่อทราบข้อมูลว่าจังหวัดใด ได้รับผลกระทบหรือประสบกับปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ ติดอันดับสูงสุด ให้มีการตรวจสอบและเฝ้าระวังไม่ให้เกิดปัญหามลพิษขึ้นอีก
  • เมื่อเมื่อทราบข้อมูลว่าจังหวัดใด ได้รับผลกระทบหรือประสบกับปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ ติดอันดับสูงสุด ให้มีการแนะนำประชาชน ว่าควรปฏิบัติตนอย่างไร เพื่อป้องกันและลดปัญหาด้านสุขภาพที่ตามมา
  • เมื่อเมื่อทราบข้อมูลว่าจังหวัดใด ได้รับผลกระทบหรือประสบกับปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ ติดอันดับสูงสุด อาจจะจัดสรรสถานที่ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ ให้เหมาะสม
  • เมื่อเมื่อทราบข้อมูลว่าจังหวัดใด ได้รับผลกระทบหรือประสบกับปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ ติดอันดับสูงสุด อาจจะกำหนดนโยบายในการลดค่าของสารก่อมลพิษหรือคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ
  • เมื่อทราบว่าแหล่งกำเนิดหลักของมลพิษคือ โรงผลิตพลังงาน และการคมนาคมขนส่ง ควรรณรงค์ให้มีการลดใช้พลังงาน และหาผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรมมาช่วยแก้ปัญหา
  • เมื่อทราบถึงแนวโน้มที่สูงขึ้นของผู้ป่วยและผู้เสียชีวิต ควรเร่งแก้ปัญหามลพิษนี้ เพื่อให้ประชาชนหัันมาใส่ใจที่จะช่วยกันดูแล และลดปัญหานี้โดยเริ่มจากตัวเอง เช่นการหลีกเลี่ยงมลภาวะ หรือเป็นส่วนหนึ่งในการไม่ก่อมลพิษเสียเอง โดยการลดใช้พลังงาน